กว่าจะมาเป็น "มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง"
คุณเป็นคนหนึ่งที่จะร่วมรักษ์ช้างไปกับเราได้
“มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง”
แม้ช้างจะถูกยกให้เป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติไทย ตั้งแต่ปี 2544 แต่น่าเสียดาย ที่ช้างก็ไม่อาจรอดพ้นภัยคุกคามอันเกิดจากน้ำมือมนุษย์
เมื่อสิ่งแวดล้อมแปรเปลี่ยนไป
ช้างเลี้ยงต้องเผชิญกับปัญหาการใช้งานและการดูแลที่ไม่เหมาะสม
ในขณะที่ช้างป่าถูกแย่งชิงผืนป่าอันเป็นแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติ
ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนจะร่วมมือกัน
ในการอนุรักษ์และส่งเสริมให้ช้างได้รับการดูแลที่ดี
ให้สมกับที่ ช้าง เป็นสัตว์สำคัญของชาติไทย
มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง เกิดจากกลุ่มบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพที่มารวมตัว เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน
มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยที่จะช่วยรองรับปัญหาความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของช้างไทย จึงช่วยหารายได้เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการนี้
โครงการนี้เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย (สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ) กับมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง เพื่อเพิ่มแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยสำหรับช้างชรา ช้างแม่ลูกอ่อน และช้างตกมัน
งาช้าง หากไม่ได้ติดกับตัวช้างแล้ว เราจะสามารถบอกได้อย่างไรว่า "งาช้าง" นั้น เป็นงาช้างของช้างชนิดใด
ช้างมี ฟันตัด 1 คู่ ข้างหน้าด้านบน ที่มีลักษณะยื่นยาวออกไป เรียกว่า งา (ซึ่งเป็นฟันตัดซี่ที่ 2) แต่ไม่มีฟันตัดหรือฟันหน้าด้านล่าง ส่วนฟันกราม มีทั้งด้านบนและด้านล่าง
ช้างมีรูจมูกสองรู เวลาช้างดมกลิ่น กลิ่นจะผ่านท่อหายใจเข้าไปในช่องโพรงจมูกของช้าง ในช่องโพรงจมูกนี้เอง จะมีโครงสร้างกระดูกอ่อนลักษณะเป็นแผ่นที่แตกแขนงออก และบุด้วยเซล์รับกลิ่นจำนวนมาก